วันเสาร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2555

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ Liberty Reserve (LR)

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ Liberty Reserve (LR)

          Liberty Reserve(LR) คือ ตัวกลางในการจ่ายเงิน (payment processor) และการแลกเปลี่ยนเงินในตลาดออนไลน์ (money transfer) เพื่อใช้ในการลงทุน หรือ ทำธุรกรรมทางการเงินออนไลน์ต่างๆ ตัวอย่างเช่น เราไม่สามารถที่จะเอาเงิน บาท (฿) ไทย ไปลงทุนกับเว็บลงทุนออนไลน์ของต่างประเทศได้โดยตรง ดังนั้น เราต้องมีบัญชี LR ก่อนจึงจะสามารถนำเงินไปลงทุนได้ ซึ่งเว็บไซค์ที่รับลงทุนออนไลน์ต่างๆ จะรับ LR เป็นสื่อกลางในการรับจ่ายเงินออนไลน์ ซึ่งก่อนเราจะลงทุน ต้อง เปิดบัญชี LR ก่อนเพื่อนำเงินบาท (฿) ไปแลกเงิน US Dollar ($) (เงินดอลล่าร์สหรัฐฯ) สำหรับใช้ในการลงทุน และเมื่อเราลงทุนได้กำไรมาแล้ว ก็สามารถนำเหรียญ LR ที่ได้มาซื้อขาย แลกเปลี่ยน เหรียญ เพื่อกลับมาเป็นเงินไทย ได้ ซึ่งมีเว็บไซค์ที่รับ แลกเปลี่ยนเงินเหรียญอยู่หลายเว็บไซค์ หรือจะซื้อขาย โดยตรงจาก นักลงทุนออนไลน์ ต่างๆ ทั่วไป ได้เลย

แนะนำวิธีวิเคราะห์กราฟเบื้องต้น ใน Marketiva

แนะนำวิธีวิเคราะห์กราฟเบื้องต้น ใน Marketiva

แนะนำวิธีวิเคราะห์กราฟเบื้องต้น สำหรับ Marketiva



- Exclamation ขั้นตอนต่อไปเราจะมาสอนวิเคราะห์กันเรามาดูกันดีกว่าว่า กราฟมากมายขนาดนี้ดูกันยังไง วิธีการวิเคราะห์ไม่ยากค่ะ ขั้นแรกให้คุณหาเส้น Price Line มันคือเส้นของราคาขณะนั้นแหละครับเป็นเส้นสีดำนะครับ การวิเคราะห์ขั้นแรกก็คือ ถ้าเส้น Price Line อยู่ต่ำกว่าทุกเส้น (Stochastic , RSI , MACD ไม่เกี่ยวนะครับ) แสดงว่าราคากำลังลง แต่ถ้าอยู่เหนือเส้นทุกเส้น แสดงว่าราคากำลังขึ้นครับหลังจากวิเคราะห์ขั้นแรกแล้ว ก็ต้องใช้อีกสามกราฟด้านล่าง เพื่อยืนยันว่าถูกต้องครับ

การวิเคราะห์ก่อนเทรด

การวิเคราะห์ก่อนเทรด

ก่อนที่เราจะลงมือเทรดค่าเงินนั้น เราควรมีการวิเคราะห์ เพราะ Forex ไม่ ใช้การพนันจึงเล่นตามอารมณ์ไม่ได้ ถ้าเราเล่นตามอารมณ์ มันก็เหมือน เทน้ำลงบนทราย เราเทน้ำเท่าไรหรือลงทุนเท่าไรก็หายหมด ดั้งนั้นเราควรเล่นเงินปลอมให้ชำนาญก่อนนะ อย่าใจร้อน



การวิเคราะห์มีอยู่ 2 ชนิด

- ซึ่งคุณสามารถใช้เมื่อเข้าถึง forex การวิเคราะห์มูลฐาน และการวิเคราะห์ทางเทคนิค มักจะมีการถกเถียงกันอยู่เสมอว่า การวิเคราะห์แบบไหนดีกว่า, แต่ ตามความจริงแล้ว เราจำเป็นต้องรู้ทั้งสองบ้างเล็กๆน้อย ดังนั้น มาดูเป็นอย่างเป็นอย่างไป จากนั้นจะได้นำมาใช้ร่วมกันได้

เคล็ดลับที่คุณควรรู้เกี่ยวกับข่าว

เคล็ดลับที่คุณควรรู้


ความแรงของข่าวระดับต่ำ
ความแรงของข่าวระดับปานกลาง
ความแรงของข่าวระดับสูง

ช่วงเวลาพิเศษซึ่งกราฟจะขยับแรง

ช่วงเวลาพิเศษซึ่งกราฟจะขยับ แรง

1.ช่วงเวลา พิเศษอันดับแรกคือช่วงตลาดEUและUKเปิดประมาณบ่ายโมงถึง5โมงเย็น
2.ช่วงเวลา ที่พิเศษอันดับ2คือช่วงตลาดUSเปิดเวลาประมาณ1ทุ่มถึง5ทุ่มครึ่ง
(ช่วง เวลานี้พิเศษพอๆกับช่วงบ่ายเลยทีเดียวบางวันก็พิเศษกว่าช่วงบ่ายเสียอีก)

3.ช่วงเวลา ที่พิเศษอันดับ3คือช่วงตลาดJapanเปิดประมาณ6โมงครึ่งตอนเช้าถึง8โมงครึ่ง
(ถือ เป็นช่วงเวลาพิเศษอีกช่วงหนึ่งที่ไม่ควรพลาด)

4.ช่วงเวลา ที่พิเศษอันดับ4ช่วงเวลาประมาณตี2ถึงตี3
(ซึ่งกราฟมักขยับแรงเช่นกันแต่ มักไม่แรงมาก)

 

การโอนเงินเข้า-ออก Marketiva

 ขั้นตอนการฝากเงิน


                การฝากเงินนั้น เราจำเป็นจะต้องมีเงินในบัญชี LR เสีัยก่อนจากการทำเรื่องซื้อ-ขาย LR(แปลงจากค่าเงินบาทไทยเป็นเงินดอลล่าร์สหรัฐใช้ในโลกออนไลน์) และเมื่อเราทำเรื่องซื้อ-ขายLRเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้ทำตามขั้นตอนต่างๆดังนี้ได้เลย

1. กดไปที่ account center  จากนั้นเลืิอก deposit funds

ส่วนประกอบของโปรแกรมเทรด Marketiva

ส่วนประกอบของโปรแกรมเทรด Marketiva



ส่วนประกอบของโปรแกรม เทรด Steamster Marketiva
ในโปรแกรม Marketiva จะแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ได้ดังนี้


































การยืนยันตัวตนสำคัญยังไง

การยืนยันตัวตนกับ Marketiva Forex

           เมื่อเราสมัครเสร็จแลัว หรือลองเทรดเงินปลอมจนคิดว่าชำนาญแล้ว เราก็ต้องแสดงการยืนยันตัวตนของเราเพราะเราต้องรับเงิน - ส่งเงิืนเข้าเล่น การที่จะยืนยันตัวตนกับ Marketiva Forex มีวิธีการทำดังนี้
 
            เรากดที่ account center แลัวกดที่ Services และกด Identify Yourself หลักฐานที่ต้องส่งคือ
- หนังสือเดินทาง หรือถ้าไม่มีก็ใช้ การสแกนบัตรประชาชน ก็ได้เช่นกัน ไม่ต้องแปลอังกฤษเทียบก็ได้ แต่ต้องทำเป็นไฟล์ .jpg นะ แล้วขนาดต้องไม่เกิน 100KB
- อีกอย่างที่ต้องส่งไปก็คือ บิลอะไรก็ได้ ที่มีชื่อเราอยู่บนนั้น เช่น บิลค่าน้ำ - ค่าไฟฟ้า แต่ต้องทำเป็นไฟล์ .jpg นะ แล้วขนาดต้องไม่เกิน 100KB (แลัวจะอธิบาย การโอนเงินเข้า - กดเบิกเงินออกในตอนต่อไปนะ)

ขั้นตอนการยืนยันตัวตน
กดที่ account center

ขั้นตอนการสมัคร Marketiva อย่างละเอียด

ขั้นตอนการสมัคร Marketiva อย่างละเอียด

Money Management เพื่อนักเล่นหุ้น : คุมต้นทุน บริหาีรความเสี่ยง!

Money Management เพื่อนักเล่นหุ้น : คุมต้นทุน บริหาีรความเสี่ยง!



สวัสดีครับ วันนี้ผมมีอีกแง่มุมหนึ่งเพื่อใครที่ยังไม่เคยฉุกคิดสนใจ ถึงการใช้ Money Management เข้ามาช่วยในการเล่นหุ้น แต่ไหนแต่ไร เรามักจะได้ยินคนส่วนใหญ่พูดถึงกันว่า Money Management ไม่ ใช่เรื่องสำคัญสำหรับนักเล่นหุ้นรายย่อย แต่ผมเห็นกลับกันว่า นี่เป็นความคิดที่ผิดที่สุดที่จะผิดได้ และสิ่งเหล่านี้ได้กลายเป็นความเชื่อของนักลงทุนส่วนใหญ่ไปแล้วด้วยว่า ความลับที่สำคัญที่สุดในการเล่นหุ้นอยู่ที่การเลือกหุ้นให้แม่นยำที่สุด ผมยอมรับว่าความแม่นยำเป็นสิ่งที่จำเป็น แต่ตลาดหุ้นเป็น “ความน่าจะเป็น” ไม่มีทางที่เราจะถูกทางทุกครั้งแน่นอน มีคนพูดบ่อยๆว่า นักเล่นหุ้นทางเทคนิค “กำไรมา 9 ครั้ง แต่ผิดครั้งเดียวเจ๊ง!” ผมมีวิธีแก้ครับคำถามที่ควรถามนั้นไม่ได้อยู่ที่ว่า “จะเลือกหุ้นอย่างไรให้ แม่นๆ?” แต่อยู่ที่ว่า “จะทำอย่างไรให้มีกำไรถึงแม้จะเลือกหุ้นได้ไม่แม่น ?” นี่คือสิ่งสำคัญสิ่งหนึ่งที่ผมเรียนรุ้จากการเล่นหุ้นก็คือ “เมื่อเก็งผิดต้องเจ็บตัวน้อย เมื่อถูกทางต้องได้เยอะ” นี่แหละครับสูตรง่ายๆแต่ได้ผลจริง แค่เราทำข้อแรกได้ นั่นคือเมื่อเก็งผิดเราต้องเจ็บตัวน้อย ผลรวมของกำไรและขาดทุนของเราจะเปลี่ยนไปทันที ผมมีตัวอย่างง่ายๆให้ดูนะครับ

จากสถิติแล้วค่าเฉลี่ยความแม่นยำของนักเล่นหุ้นทั่วไปจะอยู่ที่ประมาณ 62.5% (อ้างอิงจากหนังสือ Better Stock Trading ครับเรื่องจริงอาจน้อยกว่านี้) นั่นหมายความว่า จากการเทรดหุ้น 16 ครั้งเรามักจะถูกประมาณ 10 ครั้ง สัดส่วนนี้ดูจะเข้าท่าอยู่นิดหน่อย หากเป็นนักเล่นหุ้นส่วนใหญ่ก็อาจจะพอใจ หากใครอยากได้กำไรเพิ่มก็จะพยายามหาความรู้ในการเลือกหุ้นเพิ่มเติม แต่นั่นเป็นการทำงานหนักแต่ไม่ฉลาดเท่าไหร่ครับ! เราสามารถทำกำไรเพิ่มเติมได้ โดยไม่ต้องเพิ่มความแม่นยำของเราขึ้นเลยแค่ เพียงเรา ควบคุมต้นทุนและลดการขาดทุนจำกัดความเสี่ยงโดยรวมของ Portfolio จากการเทรดหุ้นในแต่ละครั้งลงไป โดยทำการประเมิน Position Sizing หรือจำนวนหุ้นให้เหมาะสม เราจะสามารถเห็นผลความแตกต่างได้ทันทีอย่างในตารางนี้ครับ




           เริ่มเห็นแสงสว่างเล็กๆขึ้นกันบ้างหรือยังครับ สำหรับคนที่เชื่อว่า Money Management ไม่สำคัญขนาดที่ควรจะต้องใส่ใจ เราจะสามารถเห็นได้เลยว่า ยิ่งเราขาดทุนต่อครั้งเยอะเท่าไหร่ ผลรวมของกำไรขาดทุนจะยิ่งแย่ลงไป นี่ขนาดว่า เราเล่นถูกทางถึง 62.5% หรือเกือบ 3ใน4 ครั้ง หากแค่เราขาดทุนครั้งละ 10% ของ Portfolio เราจะขาดทุนอย่างมากมาย แต่เมื่อเราลดหรือควบคุมการขาดทุนในแต่ละครั้งขึ้นมา ใน ตัวอย่างจะเห็นว่า ถ้าเรากำหนดความเสี่ยงว่าเราจะขาดทุนไม่เกิน 2% ของ Portfolio ในการเทรดหุ้นแต่ละครั้ง ผลกำไรโดยรวมของพอร์ทจะดีขึ้นเรื่อยๆ ที่มา แมงเม่าคลับ.คอม
 


            สม มุติว่าคุณ มีเงินอยู่ $10000 และคุณเสียไป $5000 คุณเสียไปทั้งหมดกี่เปอร์เซนต์ คำตอบคือ 50 เปอร์เซนต์ แล้วคุณต้องทำกี่เปอร์เซนต์
เงิน $5000 ของคุณ ถึงจะกลับไปเท่าเดิมคือ $10000 คุณต้องทำถึง 100 เปอร์เซนต์ ไม่ใช่ 50 เปอร์เซนต์ เค้าเรียกว่า Drawdown จะเห็นว่ามันน่าหงุดหงิดมาก เพราะมันง่ายมากในการเสียไป แต่ได้กลับคืนมาเท่าเดิมนั้น ยากกว่า ซึ่งผู้อ่านคงไม่คิดที่จะเสีย เทรดเดียว 50 เปอร์เซนต์ ผมหวังว่าเป็นเช่นนั้น อย่างไรก็ตาม ถ้าคุณเทรดเสีย 3, 4 หรือ 10 เทรดติดกันล่ะ มันดูเหมือนจะเกิดได้ยากถ้าคุณคิดว่าคุณมี trade system ที่มีเปอร์เซนต์ชนะ 70 เปอร์เซนต์
ดังนั้นคุณไม่มีทางเสีย ติดต่อกันได้ถึง 10 ครั้ง ถ้าคุณคิดว่าคุณมี Trade system ที่ดี ในการเทรด Trade system ที่ทำ profitable ได้ 70 เปอร์เซนต์ ดูเหมือนเป็น system ที่ดีมาก แต่มันไม่ได้หมายความว่า ใน100 เทรดคุณจะชนะ 70เทรด
คุณจะ รู้ ได้อย่างไรว่า 70 ใน 100 เทรดจะชนะ คุณไม่มีทางรู้ได้ คุณ อาจจะเสีย 30 เทรดแรก แล้วไปชนะ 70 เทรดที่เหลือ ซึงยังให้ผลที่ 70 เปอร์เซนต์ แต่คุณก็คงเสียหายหนัก
จากตัวอย่างจะทำให้รู้ ว่า Money management นั้นสำคัญ ไม่ว่าคุณจะมี Trading System ดีสักเท่าไร แต่ก็ต้องมีที่คุณเสีย เหมือนผู้เล่น Poker มืออาชีพ ถึงเค้าจะเล่นเสียครั้งใหญ่ แต่สุดท้ายเค้าก็จะจบด้วยกำไร
           ผู้ เล่น Poker เก่งๆจะฝึกฝน Money management เพราะเค้ารุ้ว่าไม่สามารถชนะได้ทุกเกมส์ เค้าจะเล่นด้วยจำนวนเงินที่น้อย จากเงินทั้งหมดที่เค้ามี มันสามารถทำให้เค้ารอดพ้นจากการเสียครั้งใหญ่ได้ นี่คือสิ่งที่คุณต้องทำในฐานะ trader เทรดใน เปอร์เซนต์ที่น้อยจากจำนวนเงินที่มีทั้งหมด เพื่อลดความสูญเสียที่อาจจะเกิดขึ้น
เมื่อคุณฝึกฝน และ เคร่งครัดกับ Money management คุณ จะเปลี่ยนจากนักพนัน กลายเป็นเจ้ามือ ที่จะทำกำไรได้ระยะยาว
รูปตัวอย่าง ความแตกต่างระหว่างคนที่เล่นเปอร์เซนต์น้อย และคนที่เล่นโดยใช้เปอร์เซนต์สูง
http://www.babypips.com/forex-school/money-management-4.html
รูปที่ 1
คุณ จะเห็นว่ามีความแตกต่างกันมากระหว่าง การเล่น 2 เปอร์เซนต์เมื่อ เทียบกับ 10 เปอร์เซนต์ ของเงินทั้งหมดในการเทรดแต่ละครั้ง ถ้าคุณเสียติดต่อกัน 19 ครั้งการลงด้วยเงิน 10 เปอร์เซนต์ จะทำให้คุณเสีย 85 เปอร์เซนต์จากเงินทั้งหมด !!!! แต่การลงด้วยเงิน 2 เปอร์เซนต์ จะทำให้คุณเสียแค่ 30 เปอร์เซนต์ของมาจิ้นเท่านั้น แต่ มันคงเกิดขึ้นได้ยาก งั้นมาดูแค่การเสีย 5 ครั้งติดต่อกัน ถ้าคุณลง 2 เปอร์เซนต์คุณจะมีเงินเหลือ 18447 แต่ถ้าคุณลง 10 เปอร์เซนต์ จะเหลือเงินแค่ 13122 ซึ่งจะมากกว่าการเสีย ติดต่อกัน19 ครั้งของ การลง 2 เปอร์เซนต์ซะอีก!!!
              จุดประสงค์ที่ยกขึ้นมานี้ เพื่อชี้ให้เห็นว่า การใช้ Money management เมื่อตอน drawdown คุณยังมีเงินทุนเหลือพอที่จะเล่นต่อไป คุณลองคิดว่าถ้าคุณเสีย 85 เปอร์เซนต์ของเงินทั้งหมด คุณต้องทำให้ได้ 566 เปอร์เซนต์ของเงินที่เหลือ เพื่อให้เท่าทุน คุณคงไม่อยากอยู่ในสถานการณ์แบบนั้น
อันนี้คือตารางที่ จะทำให้คุณรู้ว่าจากการ ขาดทุน คุณต้องทำเท่าไรถึงจะเท่าทุน
http://www.babypips.com/forex-school/money-management-3.html
รูปที่ 2
คุณจะเห็นว่า ยิ่งเสียมากมันก็ยากที่จะ ทำให้มันกลับมาเท่าทุน นี่คือเหตุผลว่าทำไมต้องใช้ Money management Risk to reward
เป็นการเทรดที่ อัตราส่วนอยู่ที่ 3 ต่อ 1 คือ Winner trade ต้องมากกว่า 3 เท่าจาก looser trade ถ้าเทรด แพ้ และ ชนะ สลับกัน
Profitable trade จะอยู่แค่ 50 เปอร์เซนต์ แต่เรามีกำไร นะครับ